• หน้าแรก
  • ข่าว
  • ข่าววิทยาเขต
  • สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ 47th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT47)

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ 47th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT47)

1 2

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ (ในรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) 47th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT47) “Sciences for  SDGs: Challenges and Solutions” ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ บริษัทดาว เคมิคอล ประเทศไทย และบริษัท เอสซีจี เคมิคอล ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม Zoom และ Facebook Live โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ กราบบังคมทูลถวายรายงานกิจกรรมสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ ศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์ อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ และประธานจัดการประชุม STT47 กราบบังคมทูลถวายรายงานการประชุมวิชาการนานาชาติ STT47 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ STT47

    สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชดำรัสเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ STT47  ผศ.ดร.อนามัย ดำเนตร คณบดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กราบบังคมทูลแนะนำและกราบบังคมทูลเบิกผู้บรรยายพิเศษ จำนวน ๓ ท่าน ได้แก่ Professor Dr.Ben L.Feringa นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2016 สาขาเคมี ในหัวข้อ “ The Art of Building Small” Professor Dr.Vinich Promarak นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2564 ในหัวข้อ “ Efficient Solution-Processable Emissive   Materials for Simple Structured Organic Light-Emitting  Diodes (OLED)” และ Professor Dr.Christopher Brett, ประธานสมาพันธ์เคมี บริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC) ในหัวข้อ “IUPAC and Its Role as a Global Resource for Chemistry” การจัดประชุมครั้งนี้ เป็นการแสดงผลงานวิจัยและระดมสมองกับกลุ่มนักวิจัยทั่วโลก เพื่อขยายโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยไทยได้รับฟังผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้กว้างขวางมากขึ้น กับผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ นอกจากจัดให้มีการนำเสนอผลงานทั้งภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบออนไลน์ด้วยระบบ zoom และ Facebook live แล้ว ยังกำหนดให้เป็นเวทีของกลุ่มนักวิจัยทั่วโลกได้มาพบปะและปรึกษาหารืองานวิจัยที่มีความสนใจเฉพาะเรื่องร่วมกันด้วย ณ ห้องอนามัยดำเนตร แกรนด์ บอลรูม อาคารนิวัติเรืองพาณิช โครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมบริการและนวัตกรรมภาษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน