เปิดตัว KUxCPF Young Software Developer Program สร้างนักพัฒนาซอฟท์แวร์มืออาชีพจากการลงมือปฏิบัติจริง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ CPF ผนึกกำลังเครือข่ายวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ทุกวิทยาเขต ของ มก. บูรณาการโจทย์ธุรกิจเข้ากับรายวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สร้างนักพัฒนาซอฟท์แวร์มืออาชีพจากการลงมือปฏิบัติจริง ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน และการสร้างคนในอนาคต โดยเปิดรายวิชาใหม่ 8 รายวิชา ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2564 มีนิสิตจากวิทยาเขต เข้าร่วมในโครงการนี้กว่า 300 คนนับเป็นอีก หนึ่ง sandboxของกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์ที่น่าจับตามอง

เมื่อวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม 601A ชั้น อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มก. เป็นประธานในงานแถลงข่าวและเปิดตัวโครงการ KUxCPF Young Software Developer Program ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โดย นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)นายสรรเสริญ สมัยสุต  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอฟ ไอทีเซ็นเตอร์ จำกัด และคณะผู้บริหาร CPF ร่วมในพิธี นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก รศ.ประดนเดช นีละคุปต์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล ศ.ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์  ผศ.ดร.สุภาพ กัญญาคำ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ผศ.ดร.ภัทรวดี สุ่มทอง นาคมี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชาวิทยาเขตศรีราชา ผศ.ดร.พิเชษฐ์ อนุรักษ์อุดม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมด้วยคณาจารย์และนิสิต ร่วมงาน

โครงการ CPF Young Software Developer Program หรือ CPF YSDP คือการนำโจทย์ธุรกิจจริงจากหลากหลายประเภทธุรกิจของซีพีเอฟ ไปสอดแทรกในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ตามพื้นฐานและความเหมาะสมของแต่ละวิชา แต่ละวิทยาเขต โดยบรรจุในแผนการศึกษาภาคปลาย ปีการศึกษา 2564 และวางแผนดำเนินการทั้งสิ้นกับ วิทยาเขต วิทยาเขตละ รายวิชา รวมทั้งสิ้น 8 รายวิชา ได้แก่ วิชา Project Management  วิชา Select topic in Computer Science วิชา Web Technology and Web Services วิชา Decision Support and Business Intelligent Systems วิชาการประมวลผลภาพดิจิทัล วิชาการทดสอบและทวนสอบซอฟต์แวร์ วิชา Database systemและ วิชา Information Retrieval System

รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “คณะวิทยาศาสตร์ เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่โครงการนี้จะมอบโอกาส “ทำจริง รู้จริง” ให้แก่นิสิต อีกทั้งยังช่วยเปิดโลกทัศน์ให้นิสิตได้เห็นโลกของการทำงานจริงตั้งแต่ยังอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย  คณะวิทยาศาสตร์ จึงได้ริเริ่มสร้างเครือข่ายภายใน 4 วิทยาเขต ผนึกกำลัง 4 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่ายวิทยาการคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมความความร่วมมือในมิติต่าง ๆ ทั้งในด้านวิชาการ ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านงานวิเทศสัมพันธ์ และด้านการสร้างความร่วมมือกับองค์กรและพันธมิตรภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งความร่วมมือกับซีพีเอฟ  ทั้งสิ้นนี้ด้วยวัตถุประสงค์ของการขยายโอกาสให้แก่นิสิตและเพิ่มพูนศักยภาพในด้านวิชาการ   

การร่วมมือครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำร่องกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือใหญ่ซีพีเอฟ ซึ่งสำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ถือว่าเป็นพันธมิตรสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนและผลักดันวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ที่มุ่งหวังจะพัฒนาการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยไปสู่นวัตกรรมการศึกษา Education Sandbox ซึ่งสถานศึกษาสามารถบริหารงานได้อย่างอิสระและจัดการศึกษาให้ สอดคล้องกับบริบทและความต้องการตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงระดับประเทศ ผ่านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและศักยภาพโดดเด่น พร้อมเข้าสู่การแข่งขันของตลาดแรงงานระดับโลก

ด้านนางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ความร่วมมือระหว่างซีพีเอฟ  และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในครั้งนี้  มีเป้าหมายในการพัฒนานิสิตให้มีความสามารถที่หลากหลาย ตอบโจทย์ตลาดแรงงานไทยที่ขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี  ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก การที่ซีพีเอฟได้นำโจทย์ธุรกิจด้านดิจิทัล มาให้นิสิตได้ลงมือปฏิบัติจริงนี้ ช่วยให้น้อง ๆ ได้วิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาโดยยึดหลักของธุรกิจเป็นที่ตั้ง (Business Solution) ควบคู่กับการพัฒนาซอฟแวร์ (Software Implement) มันเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ทำให้นิสิตเห็นภาพว่าสิ่งที่ตนเรียนในห้องเรียนนั้น จะถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรในโลกการทำงานจริง เป็นการสร้างความพร้อมให้นิสิต ทั้งในด้าน skill และด้าน mindset ตั้งแต่เขายังอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย transform บัณฑิตไทยรุ่นเยาว์ให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพ

นายสรรเสริญ สมัยสุต  กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอฟ ไอทีเซ็นเตอร์ จำกัด  (CPFIT) กล่าวว่า “ซีพีเอฟเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกที่มีจุดแข็งด้านเทคโนโลยีการเกษตรครอบคลุมห่วงโซ่อุปทาน โครงการ CPF Young Software Developer Program ออกแบบมาเพื่อให้นิสิตนำความรู้และทักษะจากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ ผสมผสานกับแนวคิดนอกกรอบของคนรุ่นใหม่ มาพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะตอบโจทย์ที่มีอยู่จริงให้ได้ โดยนิสิตจะมีทีม Sponsor ที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์จากซีพีเอฟ และคณะอาจารย์ประจำวิชาเป็นผู้ให้คำแนะนำ การจัดโครงการนี้ ยึดหลักให้คนรุ่นใหม่ได้กล้าคิดนอกกรอบ กล้าทำสิ่งใหม่ ๆ มีอิสระทางการคิดและการนำเสนอ ได้เรียนรู้จากกันและกัน และได้เห็นถึงประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการเกษตรของคนไทยให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ให้นิสิตได้เห็นว่าผู้พัฒนาซอพต์แวร์มีบทบาทสำคัญอย่างไรในการช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ยุคดิจิทัลได้

“ โครงการ KU x CPF YSDP ที่นำร่องกับคณะวิทยาศาสตร์ ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2564 นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่มีแผนการที่จะขยายออกไปอีกสู่คณะอื่น ๆ สาขาวิชาอื่น ๆ ได้อีกในอนาคต   ในเฟสแรกนี้มีนิสิตคณะวิทยาศาสตร์เข้าร่วมกว่า 300 คน จาก 2 ชั้นปี ของ 8 วิชา และจะมีการแจกโจทย์ทางธุรกิจจริงที่นอกเหนือจากที่บูรณาการในรายวิชาดังกล่าว อีกกว่า 40 โจทย์   โจทย์เหล่านี้จะช่วยจุดประกายให้นิสิตได้ดึงศักยภาพของตนเอง เรียนรู้จากกันและกัน และสนุกสนานไปกับการแข่งขันที่สร้างความท้าทายในชั้นเรียน โดย CPFIT เองได้เตรียมงบประมาณกว่า 1,500,000 บาท เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่กลุ่มนิสิตที่ร่วมโครงการนี้และมีผลงานโดดเด่นและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้จริงอีกด้วย

ปัจจุบัน ซีพีเอฟ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วางแผนขยายความร่วมมือทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมเกษตรและวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาการเกษตรไทย รวมทั้ง การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเกษตร เพื่อร่วมสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีศักยภาพสู่สังคมต่อไป